รู้จักโครงสร้างของ Project ใน Titanium Studio

โครงสร้างของ Project

โครงสร้างของ Project แต่ละ ​Project นั้นจะมี โครงสร้างที่เหมือนเกือบทั้งหมด โดยใน Version ล่าสุดของ Titanium Studio นั้น จะประกอบไปด้วย Folder หลัก ๆ อยู่ 2 Folder นั้นก็คือ i18n และ Resources พร้อมทั้งยังมี File ที่เป็น File Log และ License ต่าง ๆ ของ ตัว Titanium Studio เอง และที่สำคัญที่สุด ใน Root ของ Project นั้น ๆ ก็คือ ไฟล์ tiapp.xml


ไฟล์  tiapp.xml มีไว้สำหรับการจัดเก็บ Configuration ต่าง  ๆ ของ Application นั้น ๆ เช่น AppID , Deployment Target,  Tittanium SDK และยังมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้อีก โดยกดไปที่ Tab tiapp.xml ที่อยู่ด้านล่างของหน้าจอ ก็จะปรากฎ รายละเอียดต่าง ๆ ของ  ไฟล์ tiapp.xml เพื่อมาให้เราได้ทำการแก้ไขได้อีกด้วย การแก้ไขในส่วนนี้นั้นมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ฉะนั้นก่อนการแก้ไขใด ๆ ควรศึกษาให้ละเอียดก่อน เนื่องจากหากแก้ไปแล้วอาจทำให้ Application นั้น ไม่สามารถ ที่จะ Build ได้เลย 

Folder i18n


ใน Folder นี้นั้นจะเอาไว้สำหรับจัดเก็บภาษาต่าง ๆ ของ Application นั้น ๆ โดยอ้างอิงตาม Code ของภาษา ISO 3166-1 alpha-2 โดยใน Folder แต่ละภาษานั้น จะสามารถระบุในรูปแบบของตัวแปรต่าง ๆ ที่สามารถเรียกใช้ได้จาก Functtion  L([variable_name]) ในตัว  Code (ไว้จะอธิบายเพิ่มเติมในโอกาสต่อ ๆ ไป)

ตัวอย่างข้อมูลในไฟล์ strings.xml จะเห็นได้ว่า มีการระบุตัวแปร​ในรูปแบบของ xml tag เพื่อให้สามารถแก้ไขได้เมื่อต้องการ


Folder Resources

Folder นี้นั้นจะเป็น Folder หลักในการจัดเก็บ Code หรือ Resource  ต่าง ๆ โดยข้างในจะประกอบไปด้วย Folder ย่อย ๆ ต่าง ๆ เช่น
  • android (หาก deployment target  ตอนสร้าง  Project ได้เลือก Android เอาไว้ ทาง  Titanium ก็จะสร้าง ​Folder นี้เอาไว้ให้)
  • iphone (หาก deployment target  ตอนสร้าง  Project ได้เลือก iPhone,iPad เอาไว้ ทาง  Titanium ก็จะสร้าง ​Folder นี้เอาไว้ให้)
  • mobileweb (หาก deployment target  ตอนสร้าง  Project ได้เลือก mobile web เอาไว้ ทาง  Titanium ก็จะสร้าง ​Folder นี้เอาไว้ให้)


โดยใน  Folder ต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้จะเป็นส่วนสำหรับจัดเก็บ ไฟล์จำพวก iconapp, start up image หรือ Resource อื่นๆ  ที่ใช้ในการ Build  แยกกันไปตาม Platform โดยที่ Android นั้นจะมี Folder images ซึ่งจะถูกแยกย่อยลงไปอีกระดับหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจาก Android นั้นมีการแบ่งแยกขนาดของหน้าจอที่แตกต่างกัน โดยจะแบ่งตาม Screen Density ได้แก่
  • ldpi low-density (ldpi) screens (~120dpi).
  • mdpi Resources for medium-density (mdpi) screens (~160dpi). (เป็น Base Line ในการพัฒนา Application ของ Android )
  • hdpi Resources for high-density (hdpi) screens (~240dpi).

ในส่วนของ Folder images นั้นเอาไว้สำหรับเก็บรูปภาพต่าง ๆ ที่ใช้ใน  Application นั้นเองส่วนนี้หากต้องการเปลี่ยนที่จัดเก็บก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการนะครับ และอีก 1 Folder ที่เหลือก็คือ ui โดยที่ Folder นี้นั่นจะเอาไว้เก็บไฟล์ที่เราสร้างเป็น  ui นั่นเองครับ หากต้องการปรับเปลี่ยนก็สามารถทำได้ตามต้องการเหมือนกับ Folder Image ครับ และ ใน Folder Resources  นี้เองจะมี File  อยู่ 1 ไฟล์ ที่สำคัญมาก ๆ เลยนั่นก็คือ ไฟล์ชื่อ app.js นั่นเอง เพราะไฟล์ ๆ นี้ เป็นไฟล์แรกที่จะใช้ในการ รัน Application

ในหนหน้าเราจะมาเริ่มสร้าง Application กันจริง ๆ แล้วนะครับ ยังไงก็ติดตามกันด้วยนะครับ

2 ความคิดเห็น:

  1. ปกติแล้วเราจะเลือก Screen Density ที่เท่าไหร่ครับ หรือว่าต้องเปลี่ยน graphic ในทุก Screen Density เลย??

    ตอบลบ
  2. โดย Default แล้วจะเลือกเอาไว้ที่ Medium ครับ ในส่วนของ graphics นั้น หากได้ในทุก ๆ Density ถือว่า Perfect ครับ แต่ในความเป็นจริงแล้วคงเป็นไปได้ค่อนข้าง แต่เนื่องจาก Android มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ผมแนะนำแบบนี้ดีกว่าครับ ปิด Function การ Support ของ หลาย ๆ Density ครับ โดยหากปิด แล้ว ตัว SDK จะเลือก medium ในการแสดงผลครับ ส่วนคำสั่งปิด ก็​ สามารถเข้าไปแก้ไข tiapp.xml ได้ครับ ตามนี้

    <android xmlns:android="http://schemas.android.com/apk/res/android">
    <manifest>
    <supports-screens android:anyDensity="false"/>
    </manifest>
    </android>

    โดยเมื่อทำการ Build Titanium จะเลือก density medium เป็นหลักครับ

    ตอบลบ